ชนิดของกระดาษ
การจำแนกกระดาษสามารถจัดแบ่งได้หลายวิธี ในที่นี้จะจัดแบ่งชนิดของกระดาษที่ใช้ในวงการพิมพ์
ซึ่งสามารถรวบรวมได้ดังนี้
กระดาษปรู๊ฟ เป็นกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อบดที่มีเส้นใยสั้น และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสมด้วย
กระดาษปรฟู๊ มีน้ำ หนกั เพยี ง 40-52 กรัม/ตารางเมตร มสี อี มเหลอื ง ราคาไมแ่ พงแตค่ วามแขง็ แรงนอ้ ย เหมาะสำ หรบั
งานพิมพ์หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก
กระดาษแบ้งค์ เป็นกระดาษบางไม่เคลือบผิว น้ำหนักไม่เกิน 50-70 กรัม/ตารางเมตร มีสีให้เลือก 4 สี
ใช้สำหรับงานพิมพ์แบบฟอร์มต่างๆ
กระดาษปอนด์ เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีที่ผ่านการฟอกและอาจมีส่วนผสมของเยื่อที่มาจากเศษผ้า
มีสีขาว ผิวเรียบไม่เงา น้ำหนักอยู่ระหว่าง 60-120 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องความสวยงาม
ปานกลาง พิมพ์สีเดียวหรือหลายสีก็ได้ เป็นกระดาษที่นิยมใช้มาก ในงานพิมพ์หนังสือ และงานพิมพ์ต่างๆ ทั่วๆ ไป
กระดาษอาร์ต เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และเคลือบผิวให้เรียบด้านเดียว
หรือทั้งสองด้าน การเคลือบอาจจะเคลือบมันเงาหรือแบบด้านก็ได้ มีสีขาว น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80-160 กรัม/
ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความสวยงาม งานพิมพ์สอดสี เช่นแคตตาล็อก โบร์ชัวร์
กระดาษการ์ด เป็นกระดาษที่มีความหนาและแข็งแรงประกอบด้วยชั้นของกระดาษหลายชั้น ชั้นนอก
สองด้านมักเป็นสีขาว บางชนิดมีผิวเคลือบมันเรียบ ซึ่งเรียก กระดาษอาร์ตการ์ด น้ำหนักกระดาษการ์ดอยู่
ระหว่าง110-400 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำปกหนังสือ บรรจุภัณฑ์ที่มีราคา เช่นกล่องเครื่องสำอาง
กระดาษกล่อง เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อบด และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสม มีสีคล้ำไปทางเทา
หรือน้ำตาล ผิวด้านหนึ่งมักจะประกบด้วยชั้นของกระดาษขาวซึ่งอาจมีผิวเคลือบมันหรือไม่ก็ได้เพื่อความสวยงาม
และพิมพ์ภาพลงไปได้ หากเป็นกระดาษไม่เคลือบ จะเรียก กระดาษกล่องขาว หากเป็นกระดาษเคลือบผิวมัน
จะเรียก กระดาษกล่องแป้ง น้ำหนักกระดาษกล่องอยู่ระหว่าง 180-600 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์
บรรจุภัณฑ์ เช่น กล่อง ป้ายแข็ง ฯลฯ
กระดาษแข็ง เป็นกระดาษหลายชั้นแข็งหนาทำจากเยื่อไม้บดและเยื่อกระดาษเก่า มีผิวขรุขระสีคล้ำ มีคำเรียกกระดาษชนิดนี้อีกว่า กระดาษจั่วปัง น้ำหนักมีตั้งแต่ 430 กรัม/ตารางเมตรขึ้นไป ใช้ทำใส้ในของปกหนังสือ ฐานปฏิทินตั้งโต๊ะ บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ
กระดาษแฟนซี เป็นคำเรียกโดยรวมสำหรับกระดาษที่มีรูปร่างลักษณะของเนื้อและผิวกระดาษที่ต่างจาก
กระดาษใช้งานทั่วไป บางชนิดมีการผสมเยื่อที่ต่างออกไป บางชนิดมีผิวเป็นลายตามแบบบนลูกกลิ้งหรือตะแกรงที่
กดทับในขั้นตอนการผลิต มีสีสันให้เลือกหลากหลาย มีทั้งกระดาษบางและหนา ประโยชน์สำหรับกระดาษชนิดนี้
สามารถนำไปใช้แทนกระดาษที่ใช้อยู่ทั่วไป ตั้งแต่นามบัตร หัวจดหมาย ไปจนถึงกล่องบรรจุภัณฑ์
กระดาษอื่นๆ นอกจากกระดาษชนิดต่าง ๆ ที่เอ่ยมาข้างต้นแล้ว ยังมีกระดาษชนิดอื่น ๆ อีก เช่น กระดาษ
ถนอมสายตา กระดาษกันปลอม (Security Paper) กระดาษเอ็นซีอาร์ (Carbonless Paper) กระดาษสังเคราะห์
กระดาษสติ๊กเกอร์ ฯลฯ
ชนิดของกระดาษ
ลูกค้าโดยมากจะใช้กระดาษมาตรฐาน ที่เหมาะกับงานพิมพ์ในประเทศไทย เช่นกระดาษ อาร์ตมัน อาร์ตด้าน
อาร์ตการ์ด กระดาษถนอมสายตา กล่องแป้งหลังเทา กล่องแป้งหลังขาว เพราะหาง่าย และราคาถูก แต่ก็มี
ลูกค้าบางส่วนที่เห็นงานพิมพ์จากเมืองนอกและต้องการจะใช้กระดาษชนิดเหล่านั้น โดยทางโรงพิมพ์จะเรียก
กระดาษเหล่านี้ว่า “กระดาษพิเศษ” แต่เพราะบางชนิดไม่มีของประเทศเราต้องนำเข้ารอหลายเดือน
ชนิดและรายละเอียดของกระดาษที่ใช้กันในปัจจุบัน
เนื่องจากแหล่งผลิตกระดาษมาจากหลาย ๆ แหล่งและมีความแตกต่างกันในกรรมวิธีการผลิตและการกำหนด
รายละเอียด ข้อมูลตามตารางข้างล่างจึงเป็นแนวทางเพื่อให้เห็นภาพรวม ในทางปฏิบัติอาจมีรายละเอียดที่ต่างกัน
ออกไป
มาตรฐานรหัสชุด A
มาตรฐานขนาดกระดาษชุด A เป็นมาตรฐานในระบบ ISO ซึ่งเป็นระบบเมตริก จะกำหนดรหัส A0 ให้มีขนาด
พื้นที่เท่ากับ 1 ตารางเมตร จากการคำนวณจะได้ขนาดของ A0 เท่ากับ 841 x 1189 มิลลิเมตร เมื่อทำการแบ่งครึ่ง
จากขนาด A0 ดังกล่าว ขนาดใหม่ที่ได้ตั้งเป็นรหัส A1 หากทำการแบ่งไปเรื่อย ๆ ก็จะได้รหัสA2, A3, A4 .... มาตรฐาน
ชุดนี้ เป็นมาตรฐานที่สร้างความคุ้นเคยและถูกนำใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะขนาด A4 ซึ่งมีขนาด 210 x 297
มิลลิเมตร เป็นขนาดของกระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้กันมาก กระดาษหัวจดหมาย หนังสือ นิตยสาร ฯลฯ และถ้านำ
กระดาษขนาด A4 ที่มีน้ำหนักเท่ากับ 80 กรัมต่อตารางเมตร กระดาษมาชั่งจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 5 กรัมพอดี ทำให้ผู้ใช้
สะดวกในการหาน้ำหนักของกองกระดาษดังกล่าวโดยใช้วิธีนับจำนวนแผ่น
2A | 1189 x 1682 mm. | 46.81 x 66.22 in. |
A0 | 841 x 1189 mm. | 33.11 x 46.81 in. |
A1 | 594 x 841 mm. | 23.39 x 33.11 in. |
A2 | 420 x 594 mm. | 16.54 x 23.39 in. |
A3 | 297 x 420 mm. | 11.69 x 16.54 in. |
A4 | 210 x 297 mm. | 8.27 x 11.69 in. |
A5 | 148 x 210 mm. | 5.83 x 8.27 in. |
A6 | 105 x 148 mm. | 4.13 x 5.83 in. |
A7 | 74 x 105 mm. | 2.91 x 4.13 in. |
A8 | 52 x 74 mm. | 2.05 x 2.91 in. |
A9 | 37 x 52 mm. | 1.46 x 2.05 in. |
A10 | 26 x 37 mm. | 1.02 x 1.46 in. |
มาตรฐานรหัสชุด B
มาตรฐานรหัสชุด B นี้จะเป็นที่คุ้นเคยน้อยกว่ารหัสชุด A วิธีการกำหนดขนาดในรหัสชุดนี้เริ่มโดยให้รหัส B1 มี
ขนาดอยู่ระหว่าง A0 กับ A1 และให้มีระยะด้านสูงเท่ากับ 1 เมตร ทำให้ด้านกว้างเท่ากับ0.707 เมตร (มาจากข้อ
กำหนด ความสูงหารความกว้างเท่ากับสแควร์รูทของสอง) ดังนั้น ขนาดของรหัสชุด B จะมีด้านใดด้านหนึ่ง เป็นครึ่ง
หนึ่ง หรือหนึ่งในสี่ หรือหนึ่งในแปดของ 1 เมตรไปเรื่อย ๆ งานที่นิยมใช้มาตรฐานรหัสชุดนี้คืองานโปสเตอร์ หนังสือ
(ใช้ B5) พาสปอร์ต ซองเอกสาร
B0 | 1000 x 1414 mm. | 39.37 x 55.67 in. |
B1 | 707 x 1000 mm. | 27.83 x 39.37 in. |
B2 | 500 x 707 mm. | 19.68 x 27.83 in. |
B3 | 353 x 500 mm. | 13.90 x 19.68 in. |
B4 | 250 x 353 mm. | 9.84 x 13.90 in. |
B5 | 176 x 250 mm. | 6.93 x 9.84 in. |
B6 | 125 x 176 mm. | 4.92 x 6.93 in. |
B7 | 88 x 125 mm. | 3.46 x 4.92 in. |
B8 | 62 x 88 mm. | 2.44 x 3.46 in. |
B9 | 44 x 62 mm. | 1.73 x 2.44 in. |
B10 | 31 x 44 mm. | 1.22 x 1.73 in. |
มาตรฐานรหัสชุด C
รหัสชุดนี้มีไว้ใช้กำหนดขนาดของซองใส่เอกสาร ที่เลขเดียวกัน รหัสของ C จะใหญ่กว่าของ A แต่เล็กกว่าของ B
ดังนั้น กระดาษจดหมาย A4 จะสามารถใส่ลงในซองขนาด C4 และซองขนาด C4 ก็จะใส่ลงในซอง B4 ได้พอเหมาะ
C0 | 917 x 1297 mm. | 36.10 x 51.06 in. |
C1 | 648 x 917 mm. | 25.51 x 36.10 in. |
C2 | 458 x 648 mm. | 18.03 x 25.51 in. |
C3 | 324 x 458 mm. | 12.76 x 18.03 in. |
C4 | 229 x 324 mm. | 9.02 x 12.76 in. |
C5 | 162 x 229 mm. | 6.38 x 9.02 in. |
C6 | 114 x 162 mm. | 4.49 x 6.38 in. |
C7 | 81 x 114 mm. | 3.19 x 4.49 in. |
C8 | 57 x 81 mm. | 2.24 x 3.19 in. |
C9 | 40 x 57 mm. | 1.57 x 2.24 in. |
C10 | 28 x 40 mm. | 1.10 x 1.57 in. |
กำลังมองหาที่ออกแบบและรับพิมพ์งาน...ติดต่อเราเลย ! บริษัทสามเจริญพาณิชย์ จำกัด โทร. 028854932-4